ความท้าทาย 5 ประชากรของพระเจ้า

พระสัญญาของพระเจ้าต่ออับราฮัมมีทั้งที่ดินและครอบครัว ปฐมกาลเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับลูกหลานคนต้นๆ ของเขา ส่วนในอพยพก็ยืนยันพระสัญญาของพระเจ้า เมื่อพระเจ้าทรงตั้งชนชาติอิสราเอลให้เป็นประชากรของพระองค์ แต่พวกเขาก็ยังอยู่ห่างไกลจากดินแดนที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้


การประทานพระบัญญัติเป็นช่วงเวลาสำคัญ พระเจ้าทรงเลือก ทรงรักและทรงช่วยพวกเขาก่อนที่พระองค์จะประทานพระบัญญัติให้ (อพยพ 19:1-6) พระเจ้าทรงประทานพระบัญญัติ 10 ประการให้โมเสสบนภูเขาซีนาย แต่ไม่ใช่เป็นการตั้งกฎเกณฑ์เพื่อให้มนุษย์ขาดความสุขหรือขาดอิสรภาพ แต่เพื่อเป็นรากฐานแห่งความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า และระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง และทัศนคติของมนุษย์ต่อทรัพย์สมบัติในโลก


แผ่นดินนั้นก็เป็นของประทานเช่นกัน พระเจ้าทรงเปิดทาง ทรงแยกแม่น้ำจอร์แดนและประทานชัยชนะในการรบ การตั้งอนุสรณ์หินตอนที่พวกเขาข้ามแม่น้ำก็เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ระลึกถึงสิ่งที่พระเจ้าทรงทำ พระเจ้าทรงประทานดินแดนให้ ไม่ใช่เพื่อให้พวกเขาแสดงอำนาจเหนือชนชาติอื่น แต่เพื่อให้พวกเขามีที่อยู่ที่ปลอดภัย สำหรับทำการเกษตร สำหรับนมัสการพระเจ้าและเพื่อเป็นพยานถึงอำนาจแห่งการช่วยกู้ของพระเจ้าและเป็นพยานถึงความรักของพระองค์ต่อชนชาติที่อยู่รอบข้าง


  

เชื่อมโยง: เรื่องราวทั้งห้าในความท้าทายนี้

เมื่อคุณเริ่มความท้าทาย 5ให้มาพิจารณาด้วยกันดังนี้

• ภาพที่พระเจ้าสัญญากับอับราฮัมว่าเชื้อสายของเขาจะมีมากมายดั่งดวงดาวบนท้องฟ้า (Big Bible Challenge หน้า 16) และ

• ภาพของโมเสสกับประชากรของพระเจ้ากำลังข้ามทะเลแดง และหนีไปที่แผ่นดินพันธสัญญา (Big Bible Challenge หน้า 28)

 

ทั้ง 5 เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป แล้วประชากรกลุ่มใหญ่นี้ได้กลายมาเป็นประชากรของพระเจ้าในแผ่นดินใหม่ได้อย่างไร?

 

• คุณอาจชอบที่จะเริ่มความท้าทายนี้ด้วยเรื่องหลักคือ “ผู้นำชื่อ โยชูวา” เหตุการณ์สำคัญนี้ได้นำสาระสำคัญ 2 ประเด็นมารวมไว้ด้วยกัน คือ 1)การทำให้พระสัญญาของพระเจ้าสำเร็จ และ 2)คำแนะนำที่พระเจ้ามีต่อผู้นำคนใหม่ คุณต้องอธิบายว่า แท้จริงแล้วโมเสสไม่ได้นำประชากรของพระเจ้าเข้าสู่แผ่นดินที่พระเจ้าได้สัญญาไว้ให้พวกเขา หน้าที่นี้จึงตกเป็นของโยชูวา ดังนั้นเรื่องราวตอนนี้ดำเนินมาประมาณ 40 ปีหลังจากที่ข้ามทะเลแล้ว คุณต้องกระตุ้นให้เด็กๆตื่นเต้นไปด้วยกันว่า ในที่สุดแล้วประชากรของพระเจ้าก็ได้เข้าในแผ่นดินของพวกเขา


• ประเด็นสำคัญในเรื่องนี้คือ พระเจ้าย้ำเตือนโยชูวาถึงพระบัญญัติที่พระองค์มอบให้เพื่อให้ประชากรของพระองค์ได้เรียนรู้วิธีที่ดีที่สุดในการดำเนินชีวิต คุณลองแนะนำให้เด็กๆย้อนเวลาในพระคัมภีร์กลับไปอีก 40 ปีแล้วค้นหา “พระบัญญัติ” ที่พระเจ้าตรัสสั่งไว้


• เรื่องลูกวัวทองคำเป็นข้อมูลเบื้องหลังให้เราทราบว่าเพราะเหตุใดพระเจ้าจึงเลือกโยชูวามาเป็นผู้นำหลังจากที่โมเสสเสียชีวิต โยชูวาเข้าใจบัญญัติของพระเจ้าเป็นอย่างดี ดูเหมือนว่าเขาจะเป็นเพียงคนเดียวที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างลูกวัวทองคำในขณะที่โมเสสไม่อยู่ (ให้ความกระจ่างกับเด็กๆว่า คนอื่นๆไม่ได้เข้าใจบัญญัติข้อที่ 2 แม้กระทั่งอาโรนพี่ชายของโมเสสก็ผิดพลาดในเรื่องนี้เช่นกัน) ดังนั้นการที่โยชูวาอุทิศตนเพื่อพระเจ้าเช่นนี้ก็ทำให้เขาได้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งจากโมเสส จากจุดนี้เองเขาก็กลายมาเป็นผู้นำที่กำลังอยู่ระหว่างการฝึกฝน


• จากที่โยชูวามาเป็นผู้นำ สองเรื่องสุดท้ายในความท้าทายที่ 5 นี้ได้กล่าวถึงความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ครั้งแรกของเขา การข้ามแม่น้ำจอร์แดนได้สะท้อนถึงการข้ามทะเลแดงในตอนต้น และอีกครั้งที่พระเจ้าแสดงอำนาจของพระองค์เมื่อมีการสู้รบที่ได้เริ่มต้นขึ้นในเรื่อง “เมืองเยรีโคล่ม”!

 


  • 21 Rules from God S.36.jpg
    อพยพ 20:2 เราคือยาห์‌เวห์พระ‍เจ้าของเจ้า ผู้ได้นำเจ้าออกจากแผ่น‍ดินอียิปต์คือจากแดนทาส

  • 22 The golden calf S. 36.jpg
    อพยพ 32:14 แล้วพระ‍ยาห์‌เวห์จึงเปลี่ยนพระ‍ทัยไม่ทรงทำอัน‌ตรายประ‌ชา‍กรของพระ‍องค์อย่างที่มีพระ‍ดำ‌ริไว้แก่ประ‌ชา‍กรของพระ‍องค์

  • 23 Joshua, the leader Seite 32.jpg
    โยชูวา 1:9 “เราสั่งเจ้าแล้วไม่ใช่หรือว่าจงเข้มแข็งและกล้าหาญเถิด อย่าครั่นคร้ามหรือตกใจเลย เพราะว่าพระยาห์เวห์พระเจ้าของเจ้าสถิตกับเจ้าทุกแห่งที่เจ้าไป”

  • 24 Crossing the Jordan S. 36.jpg
    โยชูวา 4:24 เพื่อชน‍ชาติทั้ง‍สิ้นทั่ว‍พิภพจะได้ทราบว่า พระ‍หัตถ์พระ‍ยาห์‌เวห์นั้นทรงฤทธิ์ เพื่อพวก‍ท่านจะยำ‌เกรงพระ‍ยาห์‌เวห์พระ‍เจ้าของท่านเป็นนิตย์

  • 25 The fall of Jericho S.36.jpg
    โยชูวา 6:16 เมื่อปุ‌โร‌หิตเป่าแตรโย‌ชู‌วาบอกประ‌ชา‍ชนว่า “จงโห่‍ร้องขึ้นเถิดเพราะพระ‍ยาห์‌เวห์ทรงมอบเมืองนั้นให้ท่านแล้ว”

 

ใคร่ครวญ: ความท้าทายนี้มีความหมายอย่างไรในปัจจุบัน

เบื้องหลังความสำเร็จในการเป็นผู้นำของโยชูวา ก็คือการดำเนินชีวิตในทางที่ถูกต้อง เมื่อคุณสำรวจเรื่องราวเหล่านี้ไปด้วยกันแล้ว ให้ดึงสาระสำคัญดังต่อไปนี้ออกมา

 

• บัญญัติเดียวกันก็สามารถประยุกต์ใช้ในปัจจุบันได้ คุณควรจะเขียนบัญญัติสิบประการของพระเจ้าในแบบที่ช่วยให้เด็กๆเข้าใจได้ง่ายขึ้น

 

• การให้ความสำคัญกับ “สิ่งอื่น” มากกว่าพระเจ้านั้น เป็นเรื่องที่เราจะเผลอทำได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือรายการโทรทัศน์ก็อาจจะเป็นสิ่งเล็กน้อยที่กลายเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าพระเจ้า

 

• พระเจ้ายังคงเรียกประชากรของพระองค์ทุกเพศทุกวัย ให้ดำเนินชีวิตที่แตกต่าง และให้เห็นฤทธิ์อำนาจของพระเจ้าในการทำงาน เพราะสงครามฝ่ายวิญญาณนั้นยังคงดำเนินต่อไป และการเลือกอยู่ข้างพระเจ้า ก็หมายความว่าเป็นฝ่ายชนะ

 

ไขข้อข้องใจ: คำถามที่เด็กๆ อาจถามเกี่ยวกับความท้าทายนี้

 แต่ผมรักษาบัญญัติสิบประการไม่ได้!

นี่เป็นเรื่องที่ชัดเจนว่าไม่มีใครสามารถรักษาสิ่งเหล่านี้/พระบัญญัติทั้งหมดได้ เด็กๆอาจจะสงสัยว่าอะไรคือประเด็นสำคัญของบัญญัติที่เราถูกผูกมัดไว้ไม่สามารถเชื่อฟังได้หมดแม้ว่าเราจะพยายามทำให้ได้บัญญัติเหล่านี้แสดงถึงมาตรฐานที่สูงส่งของพระเจ้า ไม่ใช่เพราะพระองค์เป็นเหมือนคุณครูใจร้ายที่คอยรอดูว่าเราจะทำผิดเมื่อไหร่ แต่เพราะว่าพระองค์รักเราและต้องการให้เราอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติสุขและชื่นชมยินดีกับชีวิต!

 

ดังนั้นการพยายามรักษาบัญญัติเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะว่าบัญญัติเหล่านี้เป็นประโยชน์และช่วยให้เราแสดงออกได้อย่างแท้จริงว่าประชากรของพระเจ้านั้นแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร แต่ถ้าเราผิดพลาด และความจริงแล้วทุกคนก็สามารถผิดพลาดได้ จากนั้นเราสามารถมาหาพระเจ้าได้และยอมรับ/สารภาพกับพระองค์ว่า การพยายามรักษาบัญญัตินั้นมันยากสำหรับเราอย่างไร และขอให้พระเจ้าช่วย หลังจากที่พระเจ้าประทานบัญญัติสิบประการมามากกว่า 1,000 ปีแล้วจึงปรากฏเรื่องราวชีวิตของพระเยซูและการตายของพระองค์ สิ่งนี้ทำให้เห็นว่า เป็นไปได้ที่พวกเราจะยังคงเป็นเพื่อน/มีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้า แม้ว่าเราจะไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ครบถ้วนอย่างที่พระองค์ต้องการเลยก็ตาม

 

 

 พระเจ้าจะบอกให้ประชากรของพระองค์ฆ่าทุกคนในเยรีโคได้อย่างไร?

คุณกับเด็กเพิ่งจะอ่านพระบัญญัติข้อที่ 6 ไปว่า “ห้ามฆ่าคน” คำสั่งของพระเจ้าดูเหมือนจะขัดแย้งกับพระบัญญัติข้อนี้ และขัดแย้งกับพระลักษณะความเมตตา และความยุติธรรมของพระองค์ คำถามนี้เป็นประเด็นที่ยาก และเป็นสิ่งที่คุณจะพบซ้ำๆหลายครั้งเมื่อคุณดำเนินชีวิตไปกับพระเจ้า จงเตรียมตัวที่จะยอมรับมัน ถ้าคุณรู้สึกว่าสิ่งนี้เป็นประเด็นที่คุณยังไม่สามารถตอบเขาได้/น่าฉงน คุณอาจจะบอกกับเด็กๆว่า คุณยินดีที่คุยเรื่องนี้กับเขาอีก

 

จากคำถามนี้ เราต้องคำนึงเกี่ยวกับบริบทด้วย ชาวเมืองที่อาศัยอยู่ในเยรีโค (ส่วนมากเป็นชาวคานาอัน) เป็นคนชั่วร้าย เราอ่านเกี่ยวกับเรื่องนี้ในปฐมกาล 15-16 พวกเขาดำเนินชีวิตในวิถีที่ตรงข้ามกับบัญญัติที่พระเจ้ากำหนดให้กับประชากรของพระองค์โดยสิ้นเชิง พระเจ้าทรงเป็นความรักแต่พระองค์จะไม่อดทนกับพฤติกรรมที่ชั่วร้าย พระองค์ประกาศสงครามกับความบาป และในข้อความนี้ ประชากรของพระเจ้าถูกเรียกให้เป็นส่วนหนึ่งในสงครามนั้น ลองคิดถึงราหับ เธอตัดสินใจว่า เธอต้องการที่จะอยู่ฝ่ายประชากรของพระเจ้า เธอจึงได้รับการช่วยเหลือ ในพระธรรม 2 เปโตร 3:9 ชี้ให้เราเห็นว่าเมื่อประชาชนเข้าหาพระเจ้า พระองค์ปรารถนาที่จะให้พวกเขาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในประชากรของพระองค์

 


 

คุย: กับพระเจ้า

พระเจ้าประทานพระบัญญัติ หรือกฏ 10 ข้อให้กับประชากรของพระองค์ เพื่อแสดงให้พวกเขาเห็นว่า พระองค์ต้องการให้พวกเขามีชีวิตอย่างไร กฏเหล่านี้ก็ยังคงมีผลต่อพวกเราในปัจจุบันด้วย ลองดูว่าถ้าไม่เปิดพระคัมภีร์แล้ว คุณกับเด็กจะสามารถจำบัญญัติเหล่านี้ได้กี่ข้อ ให้จดออกมาแล้วลองดูในพระธรรมอพยพ 20:1-17 และดูว่าคุณเขียนถูกกี่ข้อ ในขณะที่คุณยังถือพระคัมภีร์ไว้ในมือให้พลิกไปดูที่หน้าของพระธรรมเลวีนิติ กันดารวิถี และเฉลยธรรมบัญญัติ และแสดงให้เด็กๆเห็นว่าพระเจ้าได้ขยายความกฏเหล่านี้ ด้วยตัวอย่างและรายละเอียดที่มากมาย

 

พระเจ้าต้องการให้ทุกคนรู้จักการใช้ชีวิตในวิถีของพระองค์ ดังนั้นเมื่อประชากรของพระองค์ไม่เชื่อฟังพระองค์ พระองค์ก็เสียพระทัยและโกรธเพราะว่า การไม่เชื่อฟังเป็นการแสดงออกว่าพวกเขาไม่วางใจในพระองค์ เพื่อที่จะเรียนรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตของเขา โยชูวาผู้นำที่รับช่วงต่อจากโมเสส ได้เชื่อฟังทุกสิ่งที่พระเจ้าตรัส และเขาสามารถตีเมืองเยรีโคได้

 

ลองพูดคุยอภิปรายกันถึงกฏระเบียบที่บ้าน ที่โรงเรียน กฏในการแข่งขันฟุตบอล ที่สระว่ายน้ำ หรือกฏอื่นๆที่เคยพบ คุณมีกฏเกี่ยวกับเวลาการเข้านอน การดูโทรทัศน์ หรืออาจจะเป็นเวลาในการใช้คอมพิวเตอร์หรือไม่? ทำไมเด็กของคุณจึงคิดว่าคุณมีกฏเหล่านี้ที่บ้าน? ทำไมการทำตามกฏกติกาจึงเป็นเรื่องสำคัญเมื่อเราเล่นกีฬา?

 

อธิบายเด็กๆ ว่ากฏเหล่านี้ช่วยให้ทุกคนมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมากขึ้น มีความยุติธรรมกับผู้อื่น และช่วยให้มีความปลอดภัย และได้รับประโยชน์

 

ร่วมใจกัน ทูลขอการอภัยจากพระเจ้าเมื่อคุณไม่ได้รักษากฏที่พระองค์กำหนดไว้ คุณควรให้ความมั่นใจกับเด็กๆ ว่าพระเจ้าทรงอภัยโทษให้กับผู้ที่เสียใจจริงๆ อธิษฐานขอพระเจ้าช่วยให้คุณและเด็กๆ รักษากฏ หรือพระบัญญัติของพระองค์ และทั้งกฏระเบียบที่บ้านที่โรงเรียน และที่อื่นๆด้วย