ความท้าทาย 18 อยู่ในทางของพระเจ้า

ในทุกมิติของชีวิต ผู้นำ คือคนที่สร้างความแตกต่าง ในขณะที่คริสตจักรกำลังเติบโต ผู้นำที่ดีถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ คริสตจักรต้องการผู้นำที่ทำให้มั่นใจได้ว่าคริสตจักรกำลังดำเนินไปอย่างถูกต้องตามการทรงเรียกในฐานะคนของพระเจ้า ผู้นำต้องเป็นคนที่มีชื่อเสียงดี ลักษณะนิสัยคือสิ่งสำคัญ และเปาโลตั้งมาตรฐานเรื่องนี้ไว้สูงมาก (1 ทิโมธี 3:1-13)

 

หนึ่งในภารกิจหลักของผู้นำ คือ ทำให้แน่ใจว่าสมาชิกในคริสตจักรเข้าใจความจริงอย่างถูกต้อง และนั่นคือใจความสำคัญของพระวจนะ (2 ทิโมธี 3:14-17) แม้เปาโลจะหมายถึงพระคัมภีร์ในพันธสัญญาเดิม แต่ก็ไม่ผิดหากเราจะรวมถึงพระคัมภีร์ในพันธสัญญาใหม่เข้าไปด้วย

 

การสอนไม่ใช่แค่การเรียนรู้ในสถาบันการศึกษาเท่านั้น แต่เป็นการทำให้แน่ใจว่าผู้เชื่อจะรู้ในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ ผู้นำจะต้องดูแลรับผิดชอบคริสตจักร (1 ทิโมธี 3:5) การสอนจำเป็นต้องเกี่ยวข้องและระบุถึงปัญหาเหล่านั้นที่อาจก่อให้เกิดความยุ่งยากในคริสตจักร (1 เธสะโลนิกา 4:13-5:11) มีการคาดการณ์ถึงการเสด็จกลับมาของพระเยซู โดยเฉพาะช่วงเวลาที่จะเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น ซึ่งเปาโลอยากให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเหตุการณ์นี้จะบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

 

การเป็นผู้นำ ไม่ว่าในฐานะใดถือเป็นการทรงเรียกที่ประเสริฐ (1 ทิโมธี 3:1) แต่นี่ไม่ใช่งานที่ง่าย เพราะหมายถึงการทำงานหนักและต้องเรียนรู้อย่างไม่ลดละ (2 ทิโมธี 2) ผู้นำถูกเรียกร้องให้เป็นแบบอย่างแก่คริสตจักร (1 ทิโมธี 6:3-21) ผู้นำอาจถูกเรียกให้เผชิญกับความทุกข์ยากลำบากด้วย (2 ทิโมธี 3:10-12; 4:6-8)

 

เปาโลแสดงให้เห็นถึงมาตรฐานที่สูงซึ่งถูกคาดหวังจากผู้นำคริสตจักร ทั้งในแง่ชีวิตส่วนตัวและความสัมพันธ์ในครอบครัว รวมถึงการมีชื่อเสียงที่ดีท่ามกลางสังคมในท้องถิ่นด้วย

 


เชื่อมโยง: เรื่องราวทั้งห้าในความท้าทายนี้

เปาโลร้อนใจอยู่เสมอว่าผู้เชื่อควรได้รับคำสอนคริสเตียนที่ถูกต้องชัดเจน เพื่อเขาจะเข้าใจสิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำเพื่อพวกเขาและรู้ว่าพระองค์ปรารถนาให้เขาดำเนินชีวิตอย่างไร ดังนั้น พวกเขาจึงต้องการผู้นำคริสตจักรที่ดีและเปาโลได้พยายามอย่างเต็มที่เพื่อสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่จะมารับช่วงต่อจากท่าน พระธรรมส่วนใหญ่ในบทนี้นำมาจากจดหมายฝากของเปาโลที่เขียนถึงทิโมธี เพื่อหนุนใจคนหนุ่มที่ต้องรับบทเป็นผู้นำคริสตจักร และเพื่ออธิบายคำสอนที่ยากๆ บางอย่างให้แก่เขาด้วย

 

จะดีที่สุดหากท่านอ่านพระคัมภีร์ตามลำดับ ดังนี้

1 ทิโมธี 6:11-19

1 ทิโมธี 3:1-13

2 ทิโมธี 2:14-26

2 ทิโมธี 3:10-17

1 เธสะโลนิกา 5:1-11

 


  • 86 Leading the church.jpg
    1 ทิโมธี 3:1 คำ​กล่าว​นี้​สัตย์​จริง คือ​ว่า​ถ้า​ใคร​ปรารถ​นา​หน้า​ที่​ผู้​ปก​ครอง​ดูแล​คริสต​จักร คน​นั้น​ก็​ปรารถ​นา​กิจ​การ​งาน​ที่​ประ​เสริฐ

  • 87.jpg
    1 ทิโมธี 6:12ก จง​ต่อ​สู้​อย่าง​เต็ม​ที่​เพื่อ​ความ​เชื่อ จง​ยึด​ชีวิต​นิรันดร์​ให้​มั่น

  • 88 Working for God.jpg
    2 ทิโมธี 2:15 จง​อุต​ส่าห์​ถวาย​ตัว​ท่าน​เอง​ที่​พระ​เจ้า​ทรง​รับรอง​แล้ว​แด่​พระ​องค์ เป็น​คน​งาน​ที่​ไม่​อับ​อาย สอน​พระ​วจนะ​แห่ง​ความ​จริง​อย่าง​ถูกต้อง

  • 89 God’s Word.jpg
    2 ทิโมธี 3:17 เพื่อคนของพระเจ้าจะมีความสามารถและพรักพร้อมเพื่อการดีทุกอย่าง

  • 90.jpg
    1 เธสะโลนิกา 5:9 เพราะ​ว่า​พระ​เจ้า​ไม่​ได้​ทรง​กำ​หนด​เรา​ไว้​สำ​หรับ​พระ​พิโรธ แต่​สำ​หรับ​การ​รับ​ความ​รอด โดย​พระ​เยซู​คริสต์​องค์​พระ​ผู้​เป็น​เจ้า​ของ​เรา

 

ใคร่ครวญ: ความท้าทายนี้มีความหมายอย่างไรในปัจจุบัน

ทิโมธีเป็นศิษย์วัยหนุ่มของเปาโล และท่านอยากเห็นทิโมธีเป็นผู้นำคริสเตียนที่ดี ท่านรู้ว่าทิโมธีได้เติบโตขึ้นโดยมีพื้นฐานมาจากความรักในพระวจนะและได้ดำเนินชีวิตตามพระวจนะนั้น นี่คือโอกาสดีที่จะหนุนใจบุตรหลานของท่านให้มีใจรักในพระวจนะแบบทิโมธีและสอนให้เด็กรู้ว่าสิ่งนี้จะช่วยให้เขาได้เป็นคนงานของพระเจ้า ทั้งในวันนี้และวันหน้า

 

มี ‘ภาพ’ มากมายจากพระธรรมเหล่านี้ให้คุณนำมาใช้เพื่อเสริมความเข้าใจให้แก่เด็กๆ สำหรับคำสอนบางตอนที่เข้าใจยาก

• การต่อสู้อย่างเต็มกำลัง (1 ทิโมธี 6:11-19)

• ภาชนะที่ใช้การได้ (2 ทิโมธี 2:14-26)

• ความมืดและความสว่าง (1 เธสะโลนิกา 5:1-11)

 

ไขข้อข้องใจ: คำถามที่เด็กๆ อาจถามเกี่ยวกับความท้าทายนี้

 ทิโมธีคือใคร?

เปาโลพบกับทิโมธีครั้งแรกในเมืองลิสตรา (ดู กิจการฯ 16:1) ทิโมธีเป็นชาวยิว (มีแม่เป็นชาวยิว) แต่เขาเติบโตขึ้นมาในสังคมกรีกเพราะมีพ่อเป็นชาวกรีก ทิโมธีเป็นชายหนุ่มที่มีความสามารถโดดเด่น มีชื่อเสียงดี และมีศักยภาพในการเป็นผู้นำ เปาโลและเพื่อนร่วมงานของท่านพาทิโมธีเดินทางไปด้วยกัน และเราจะพบว่าทิโมธีได้เดินทางไปยังที่ต่างๆมากมาย ตลอดการผจญภัยของพวกเขา ตามที่บันทึกไว้ในพระธรรมกิจการฯ ในช่วงเวลาดังกล่าว เปาโลได้ฝึกฝนและหนุนใจทิโมธีในฐานะของผู้นำและในที่สุดเขาก็ได้เป็นผู้นำของคริสตจักรในเมืองเอเฟซัส แต่เปาโลก็ไม่ได้ทอดทิ้งทิโมธี เพราะท่านยังติดต่อสื่อสารกันผ่านทางจดหมาย ซึ่งเป็นจดหมายที่ช่วยและหนุนใจพวกเราทุกคนด้วยเช่นกัน

 


คุย: กับพระเจ้า

อธิบายให้เด็กเข้าใจว่าการอ่านพระคัมภีร์ด้วยกัน คือ ช่องทางหนึ่งที่พระเจ้าจะตรัสกับเราและนำทางชีวิตของเรา ให้เขาเลือกพระคัมภีร์ 1 ข้อจากที่อ่านไป ที่เขาประทับใจ อาจจะเป็น โรม 8:39, กาลาเทีย 5:22, เอเฟซัส 6:10, ฟีลิปปี 4:4, หรือ 4:6 ช่วยให้เขาเขียนเนื้อความ ข้อ และบทของพระคำตอนที่เลือกลงในกระดาษชิ้นเล็กๆ โดยเขียนหนึ่งคำต่อกระดาษหนึ่งชิ้น แล้วเรียงกระดาษให้เป็นข้อความที่เด็กอ่านได้ จากนั้น พลิกคว่ำหน้ากระดาษหนึ่งแผ่น แล้วให้เด็กลองอ่านทั้งหมด พลิกคว่ำหน้ากระดาษเพิ่มทีละหนึ่งแผ่น แล้วให้เด็กๆพยายามอ่านทั้งหมด ลองสังเกตว่าเขายังสามารถอ่านข้อพระคัมภีร์ทั้งหมดได้อยู่หรือไม่ หากว่ากระดาษทุกแผ่นถูกพลิกคว่ำหน้าจนหมดแล้ว ให้กล่าวชื่นชมในสิ่งที่เขาได้เรียนรู้ และย้ำเตือนว่านี่ไม่ใช่แค่เกมท่องจำเท่านั้น แต่ช่วยให้เราได้คิดมากขึ้นว่าพระเจ้าอยากให้เราดำเนินชีวิตอย่างไร และเราจะพบความช่วยเหลือของพระเจ้าได้จากที่ไหนในเวลาที่เราต้องการ

 

แนะนำให้เด็กใช้ข้อพระคำเหล่านี้เป็นคำอธิษฐาน เวลาที่เขาต้องการความช่วยเหลือ หรือคำหนุนใจ ในระยะสองถึงสามวันนี้ ถ้าเด็กๆมีความสุขกับสิ่งเหล่านี้ ลองเชิญชวนให้เขาเลือกพระคำข้ออื่นๆ มาศึกษาเพิ่มเติม อาจจะเลือกมาหนึ่งข้อจากความท้าทายแต่ละบทเรียน หรือเราอาจจะลองทำไปด้วยกัน แล้วลองดูว่าใครจะเรียนรู้ได้มากที่สุด!