เรื่องราวที่ 66 อาหารมื้อสุดท้าย

ลูกา 22:19ข
พระ​องค์ทรง​หักขนมปัง​ส่ง​ให้​พวกอัครทูต ตรัส​ว่า
“นี่​เป็น​กาย​ของ​เรา ซึ่ง​ให้​ไว้​สำ​หรับ​ท่าน​ทั้ง​หลาย
จงกินเพื่อ​เป็น​ที่​ระลึก​ถึง​เรา”

อาหารจานโปรดของคุณคืออะไร?

คุณจะได้ทานอาหารมื้อพิเศษไหม เมื่อถึงวันเกิด วันคริสตมาส หรือ วันขอบคุณพระเจ้า?แล้วมื้ออาหารที่ทานเพื่อ “เลี้ยงส่ง” ใครบางคนล่ะ?

ในครอบครัวของคุณหรือในประเทศของคุณ มีวันพิเศษอะไรบ้างที่คุณจำได้? คุณมีวิธีเฉลิมฉลองอย่างไร?

เรื่องมีอยู่ว่า...

พระเยซูและสหายของพระองค์เดินทางไปเยรูซาเล็มเพื่อฉลองเทศกาลปัสกาประจำปี พระเยซูจะไปที่พระวิหารทุกวันเพื่อสั่งสอนเรื่องพระเจ้าและทุกวันก็มีคนมากมายมาฟังพระองค์ แต่ผู้นำศานาชาวยิวบางคนเริ่มกลัวว่าจะเกิดปัญหา จึงเริ่มหาช่องทางที่จะกำจัดพระเยซู สหายของพระองค์ คือ ยูดาส ก็ยินดีที่จะร่วมมือกับคนเหล่านั้น ในขณะนั้นเป็นช่วงเวลาสำหรับมื้ออาหารปัสกา

ลูกา 22:14-23

อาหารมื้อสุดท้าย

 

แล้วมีอะไรต่อ...

หลังจากทานอาหารเสร็จแล้ว พระเยซูทรงเสด็จออกไปเพื่ออธิษฐาน สหายของพระองค์ก็อยู่ที่นั่นด้วย แต่พวกเขานั่งหลับอยู่ พระเยซูทรงอธิษฐานอย่างหนักเพราะพระองค์รู้ว่าจะต้องทำสิ่งที่ยากมาก ไม่นานนัก ยูดาสพร้อมด้วยทหารกลุ่มหนึ่งก็มาถึง ยูดาสชี้ตัวพระเยซูให้กับทหารเหล่านั้น แล้วพระองค์ก็ถูกจับตัวไปขังไว้ในคุก

เมื่อ​ถึง​เวลา พระ​องค์​ประทับ​ลง​และ​เสวย​พร้อม​กับ​พวก​อัคร​ทูต พระ​องค์​ตรัส​กับ​เขา​ทั้งหลาย​ว่า “เรา​มี​ความ​ปรารถนา​อย่าง​ยิ่ง​ที่​จะ​รับ​ประ​ทาน​ปัส​กา​นี้​กับ​ท่าน​ก่อน​ที่​เรา​จะ​ต้อง​ทน​ทุกข์ เรา​บอก​ท่าน​ทั้ง​หลาย​ว่า เรา​จะ​ไม่​รับ​ประ​ทาน​ปัส​กา​นี้​อีก​จน​กว่า​จะ​สำ​เร็จ​ความ​หมาย​ของ​ปัส​กา​นั้น​ใน​แผ่น​ดิน​ของ​พระ​เจ้า” พระ​องค์​ทรง​หยิบ​ถ้วย เมื่อ​ขอบ​พระ​คุณ​แล้ว​ตรัส​ว่า “จง​รับ​ถ้วย​นี้​ไป​แบ่ง​กัน​ดื่ม เรา​บอก​ท่าน​ทั้ง​หลาย​ว่า เรา​จะ​ไม่​ดื่ม​จาก​ผล​ของ​เถา​องุ่น​อีก​ต่อ​ไป​จน​กว่า​แผ่น​ดิน​ของ​พระ​เจ้า​จะ​มา” พระ​องค์​ทรง​หยิบ​ขนม​ปัง เมื่อ​ขอบ​พระ​คุณ​แล้ว​ก็​ทรง​หัก​ส่ง​ให้​พวก​เขา ตรัส​ว่า “นี่​เป็น​กาย​ของ​เรา ซึ่ง​ให้​ไว้​สำ​หรับ​ท่าน​ทั้ง​หลาย จง​ทำ​อย่าง​นี้​เพื่อ​เป็น​ที่​ระลึก​ถึง​เรา” เมื่อ​รับ​ประ​ทาน​แล้ว จึง​ทรง​หยิบ​ถ้วย​และ​ทรง​ทำ​เหมือน​กัน​ตรัส​ว่า “ถ้วย​นี้​ที่​เท​ออก​เพื่อ​ท่าน​ทั้ง​หลาย เป็น​พันธสัญ​ญา​ใหม่ โดย​โล​หิต​ของ​เรา แต่​มือ​ของ​ผู้​ที่​จะ​ทรยศ​เรา​ก็​อยู่​กับ​เรา​บน​โต๊ะ​นี้ เพราะ​บุตร​มนุษย์​จะ​เสด็จ​ไป​เหมือน​ที่​ทรง​ดำริ​ไว้​แต่​ก่อน​แล้ว แต่​วิบัติ​แก่​คน​นั้น​ที่​ทรยศ​ท่าน” พวก​เขา​จึง​เริ่ม​ถาม​กัน​และ​กัน​ว่า​คน​ไหน​ใน​พวก​เขา​ที่​จะ​ทำ​สิ่ง​นี้

 

 

สำรวจพระคัมภีร์

 • พระเยซูทรงฉลองเทศกาลอะไรกับเหล่าสาวก? (อ่าน ลูกา 22:7)

 • ลูกแกะที่ถูกฆ่าและกินในการฉลองเทศกาลปัสกาเดิมมีความหมายว่าอย่างไร? (ดูความท้าทาย 4 และอพยพบทที่ 12)

 • พระเยซูทรงให้ความหมายใหม่แก่การฉลองนี้ โดยทรงใช้ขนมปังและเหล้าองุ่น พระเยซูตรัสถึงความหมายของขนมปังและเหล้าองุ่นว่าอย่างไร?

   

 

รู้หรือไม่ว่า...

พิธีปัสกา พระเยซูและสหายของพระองค์มารวมตัวกันเพื่อทานอาหารปัสกา (ดูความท้าทายที่ 4) มีทั้งแกะย่าง ขนมปังไร้เชื้อ และ สมุนไพรที่มีรสขม ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี เพื่อระลึกถึงมื้ออาหารที่โมเสสและคนของพระเจ้าได้กินในคืนสุดท้ายก่อนที่พระเจ้าจะช่วยกู้พวกเขาออกมาจากการเป็นทาสในอียิปต์

ขนมปัง ตลอดทั้งสัปดาห์ ประชาชนจะกินขนมปังไร้เชื้อที่เนื้อขนมปังจะไม่ฟูขึ้นมาและพวกเขาไม่อนุญาตให้มีเชื้อขนมปังอยู่ในบ้านของเขาเลย!

เหล้าองุ่น จะมีการดื่มเหล้าองุ่นจำนวนสี่ถ้วยระหว่างมื้ออาหาร พระเยซูทรงใช้เหล้าองุ่นหนึ่งถ้วยเพื่อบอกกับสหายของพระองค์ว่าพระองค์กำลังจะสิ้นพระชนม์เพื่อให้เราได้รับการอภัยโทษจากพระเจ้า ในเวลานั้น พวกเขาไม่เข้าใจจริงๆ ว่าพระองค์กำลังตรัสถึงเรื่องอะไร

การทรยศ พระเยซูทรงทราบว่าสหายคนหนึ่งของพระองค์จะทรยศต่อพระองค์ ยูดาสอิสคาริโอทไม่พอใจสิ่งที่พระเยซูได้ตรัสและได้กระทำ เขาไปหาพวกปุโรหิตและตกลงที่จะมอบตัวพระเยซูให้กับพวกเขา พวกเขาจ่ายเงินค่าจ้างให้ยูดาสเป็นจำนวน 30 เหรียญเงิน

 

ลองทำดูสิ

 
 

คริสตจักหลายแห่งยังคงใช้ขนมปังและเหล้าองุ่นเพื่อระลึกถึงพระเยซูเราเรียกพิธีนี้ว่า “พิธีมหาสนิท” “ศีลมหาสนิท” “มิซซา” “การหักขนมปัง” ถ้าคุณได้ไปที่คริสตจักรสักแห่งหนึ่ง ลองสังเกตว่าที่นั่นมีพิธีแบบนี้ไหมและเขาเรียกว่าอะไร

คุณเคยไปคริสตจักรที่มีพิธีแบบนี้ไหม? ขอโค้ชพระคัมภีร์ไปกับคุณ หลังจากเสร็จการนมัสการให้อ่านพระคัมภีร์เรื่องพระกายาหารมื้อสุดท้ายที่พระเยซูทานร่วมกับสหายของพระองค์อีกหนึ่งรอบ มีอะไรบ้างที่เหมือนกับพิธีการของคริสตจักรที่คุณไป? มีสิ่งใดที่ต่างกัน?

 

 

พูดคุยกับพระเจ้า

“พระเยซูเจ้า โปรดช่วยให้เราเห็นว่าพระราชกิจของพระองค์นั้นยิ่งใหญ่เพียงใดและช่วยให้เราเข้าใจว่าพระราชกิจเหล่านั้นมีความสำคัญมากเพียงใดต่อชีวิตเรา”